ASEAN INSIGHT
ยินดีต้อนรับผู้สนใจ "อาเซียน" ทุกท่าน ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษาวิทยาลัยชุมชนพังงาหรือบุคคลทั่วไป เวบบล็อคนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนซึ่งนับวันก็ยิ่งใกล้ตัวเราเข้ามาทุกขณะ หากมีการเตรียมตัวที่ดีในทุกด้าน เชื่อว่า ประชาชนชาวไทยสามารถเข้าสู่ประชาคมอาเซียนได้อย่างสง่างามและประสบผลสำเร็จดังความคาดหวังอย่างแน่นอน
วันอาทิตย์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2557
หน่วยงานที่ทำหน้าที่ประสานงานและติดตามผลการดำเนินงานของอาเซียน
1. สำนักเลขาธิการอาเซียน หรือ ASEAN Secretariat ตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เป็นศูนย์กลางในการติดต่อระหว่างประเทศสมาชิก โดยมีเลขาธิการอาเซียน(ASEAN Secretary-General) เป็นหัวหน้าสำนักงาน ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบันเป็นคนเวียดนาม ชื่อ นาย Le Luong Minh มีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี ระหว่างปี ค.ศ. 2013 ถึง 2017

อนึ่ง ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ เคยทำหน้าที่นี้ในระหว่างปี ค.ศ. 2008-2012
2. สำนักงานอาเซียนแห่งชาติ หรือ ASEAN National Secretariat เป็นหน่วยงานระดับกรมในกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียน มีหน้าที่ประสานกิจการอาเซียนในประเทศนั้นและติดตามผลการดำเนินงาน สำหรับประเทศไทยหน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ
โครงสร้างและกลไกการดำเนินงาน
นโยบายการดำเนินงานของอาเซียนจะเป็นผลจากการประชุมหารือในระดับหัวหน้ารัฐบาล ระดับรัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน
การประชุมสุดยอดเป็นการประชุมในระดับสูงสุด เพื่อกำหนดแนวนโยบายในภาพรวมและเป็นโอกาสที่ประเทศสมาชิกจะได้ร่วมกันประกาศเป้าหมายและแผนงานของอาเซียนในระยะยาว โดยการจัดทำเอกสารในรูปแบบของแผนปฏิบัติการ (Action Plan) แถลงการณ์ร่วม (Joint Declaration) ปฏิญญา (Declaration) ความตกลง (Agreement) หรืออนุสัญญา (Convention) เช่น Hanoi Declaration, Hanoi Plan of Action และ ASEAN Convention on Counter Terrorism เป็นต้น
ส่วนการประชุมในระดับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโสจะเป็นการประชุมเพื่อพิจารณาทั้งนโยบายในภาพรวม และนโยบายเฉพาะด้าน โดยหารือในรายละเอียดมากขึ้น
กำเนิดอาเซียน
อาเซียนหรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ(The Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 โดยมีผู้แทนจาก 5 ประเทศร่วมลงนามในปฏิญญา ประกอบด้วย
1.นายอาดัม มาลิก(รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย)
2. ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน(รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย)
3. นายนาซิโซ รามอส(รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์)
4. นายเอส ราชารัตนัม(รัฐมนตรีต่างประเทศสิงค์โปร์
5. พันเอก(พิเศษ) ถนัด คอมันตร์(รัฐมนตรีต่างประเทศไทย)
ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่
บรูไนดารุสซาลาม(เป็นสมาชิกเมื่อ 8 ม.ค. 2527) เวียดนาม(วันที่ 28 ก.ค. 2538) ลาว พม่า(วันที่ 23 ก.ค. 2540) และกัมพูชา(วันที่ 30 เม.ย. 2542) ตามลำดับ
จากการรับกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิก ทำให้อาเซียนมีสมาชิกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบันนี้ จำนวน 10 ประเทศ
5. พันเอก(พิเศษ) ถนัด คอมันตร์(รัฐมนตรีต่างประเทศไทย)
ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่
บรูไนดารุสซาลาม(เป็นสมาชิกเมื่อ 8 ม.ค. 2527) เวียดนาม(วันที่ 28 ก.ค. 2538) ลาว พม่า(วันที่ 23 ก.ค. 2540) และกัมพูชา(วันที่ 30 เม.ย. 2542) ตามลำดับ
วัตถุประสงค์หลักของการก่อตั้งอาเซียน
เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจสังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี และการบริการ ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ
สัญลักษณ์ของอาเซียน คือ รูปรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมสีขาวและสีน้ำเงิน รวงข้าว 10 ต้น หมายถึง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ สีเหลืองหมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและการมีพลวัติ สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ และสีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคงวันอาทิตย์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2557
นโยบายหลักกระทรวงศึกษาธิการ
นโยบาย ๕ ประการของกระทรวงศึกษาธิการ
ในการดำเนินงานตามปฏิญญาอาเซียนด้านการศึกษา
เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการอาเซียนด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
ทักทาย
สวัสดีทุกท่านค่ะ
ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ ASEAN STUDIES ของวิทยาลัยชุมชนพังงา ท่านสามารถเลือกศึกษาหัวเรื่องต่างๆ ที่จัดไว้ให้ตามความสนใจและหากมีข้อเสนอแนะ-ความคิดเห็นใดๆ ทางผู้จัดทำยินดีรับฟังด้วยความขอบคุณค่ะ
หากท่านสนใจเรียนรู้และติดตามความเคลื่อนไหวของ ASEAN ที่เป็นปัจจุบันและเชื่อถือได้อย่างเป็นทางการ สามารถเข้าเว็บไซต์โดยตรงได้ที่นี่ หรือหากต้องการศึกษาเพิ่มเติมอาจไปที่เว็บไซต์ กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ, หรือสำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นอกจากนี้ก็ยังมีสมาคมอาเซียน-ประเทศไทย ซึ่งน่าสนใจมากๆ อีกด้วยค่ะ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)